อเสวนา จ พาลานํ (อะเสวะนา จะ พาลานัง)
การไม่คบคนพาลเป็นมงคล เพราะการคบคนพาลพาไปหาผิด การไม่คบคนพาลจึงทำให้พ้นจากโอกาสที่จะหลงเข้าสู่ความผิด นำมาซึ่งความสรรเสริญของคนทั่วไป และประสพความสุข ความก้าวหน้าในชีวิต
ปณฑิตานญฺจ เสวนา (ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา)
คบบัญฑิตเป็นมงคล เพราะได้ความรู้ ความปลอดภัย ความสรรเสริญ ความสุข เกียรติยศ ชื่อเสียง และชื่อว่าได้ทำความดีด้วย ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ง่าย ได้ชื่อว่ามี "กัลยาณมิตร"
ปูชา จ ปูชนียานํ (ปูชา จะ ปูชะนียานัง)
ทำให้เราได้แบบอย่างที่ดีจากคนที่เราเคารพ เป็นการขจัดความพาลให้พินาศไปโดยทางอ้อมและเป็นการเชิดชูบัญฑิตให้สูงเด่นยิ่งขึ้น และได้ชื่อว่าเป็นผู้มี "กตัญญูกตเวที" อีกด้วย
ปฏิรูปเทสวาโส จ (ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ)
คืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีมีความพร้อม การอยู่ในประเทศอันสมควรเป็นมงคล เพราะการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีย่อมทำให้เป็นคนดี คนมีความรู้ ถ้าอยู่ในถิ่นที่ไม่ต้องใช้วิชาความรู้ ความรู้นั้นก็หมดค่าไป
ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา (ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา)
การทำบุญไว้ก่อนเป็นมงคล เพราะการทำบุญเป็นการสร้างความดี ซึ่งมีระยะเวลายาวนาน ต้องอดทน เหมือนปลูกต้นไม้ยืนต้นจะต้องคอยผลไม้นั้นเป็นปีๆ การทำบุญในอดิตส่งผล ปัจจุบัน การทำบุญปัจจุบันส่งผลส่งผลในปัจจุบันและอนาคต
อตฺตสมฺมาปณิธิ จ (อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ)
การตั้งตนไว้ชอบ คือการวางตัวในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องและมั่นคง จึงจะได้ชื่อว่าเป็นคนมีคุณภาพชีวิต เป็นตัวอย่างที่ดีแก่คนอื่น มีความก้าวหน้า เป็นผู้ป้องกันภัยในอบายภูมิ และได้รับ สมบัติ 3 ประการคือ มนุษยสมบัติ ทิพยสมบัติ และนิพพานสมบัติ
พาหุสจฺจญฺจ (พาหุสัจจัญจะ)
หมายถึงความเป็นผู้รู้ ได้สดับตรับฟังมาก หรือความเป็นผู้คงแก่เรียน พหูสูตเป็นมงคล เพราะการฟังมาก ย่อมเพิ่มวุฒิปัญญา เชาวน์ และไหวพริบ นำความรู้ที่ได้ยินได้ฟังได้อ่าน ไปปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือตนเองหรือคนอื่นได้มาก และเป็นช่องทางนำความเจริญด้วย ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ความเจริญก้าวหน้ามาสู่ตน ไม่มีใครแย่งชิงได้ เป็นสหชาติปัญญา
สิปฺปญฺจ (สิปปัญจะ)
ความมีศิลปะเป็นมงคล เพราะคนมีศิลปะจะช่วยตัวเองได้ไม่ว่าจะตกอยู่ในสถานะใด คนมีศิลปะย่อมเจริญก้าวหน้า ได้รับความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า และทำให้โลกเจริญทั้งด้านวัตถุและจิตใจ ดังพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 ที่ว่า "ศิลปกรรมนำใจให้สว่างโศก ช่วยบรรเทาทุกข์ในโลกให้เหือดหาย"
วินโย จ สุสิกฺขิโต (วินะโย จะ สุสิกขิโต)
มีวินัยเป็นมงคล เพราะวินัยเป็นตัวกำหนดให้เกิดความสามัคคี ความมีระเบียบ สร้างความเข้มแข็งในกิจการงานต่างๆ ทำให้สังคมที่ดีดำรงอยู่
สุภาสิตา จ ยา วาจา (สุภาสิตา จะ ยา วาจา)
หมายถึงพูดดี วาจาสุภาษิตเป็นมงคล เพราะคนที่พูดวาจาสุภาษิตจะบันดาลให้การงานทั้งปวงสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี มีความเจริญก้าวหน้าทั้งทางโลกและทางธรรม
มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ (มาตาปิตุอุปัฏฐานัง)
การเลี้ยงดูมารดาเป็นมงดล เพราะเป็นการสืบต่อสังคมโดยอัตโนมัติ การบำรุงเลี้ยงดูมารดาบิดา ทำให้ได้รับการยกย่องสรรเสริญมีความเจริญก้าวหน้า เป็นตัวอย่างที่ดีแก่อนุชนรุ่นหลัง
ปุตฺตสงฺคโห (ปุตตะสังคะโห) แยกมาจาก ปุตฺตทารสฺส สงฺคโห (ปุตตะทารัสสะ สังคะโห)
การเลี้ยงดูบุตรเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวซึ่งก็คือส่วนหนึ่งของประเทศชาติ ถ้าเลี้ยงดูบุตรให้ดีได้รับการศึกษาก็เท่ากับสร้างครอบครัวให้ดี ประเทศชาติเจริญมั่นคง
บุตร แบ่งตามคุณธรรมมี 3 ประเภท คือ
1. อภิชาตบุตร บุตรที่ยิ่งใหญ่กว่ามารดาบิดา
2. อนุชาตบุตร บุตรเสมอมารดาบิดา
3. อวชาตบุตร บุตรที่เลวกว่ามารดาบิดา
ทารสงฺคโห (ทาระสังคะโห)
การเลี้ยงดูภรรยาเป็นมงคล เพราะห์ทำให้ชีวิตครอบครัวมั่นคงยั่งยืน เป็นการร่วมกันสร้างฐานะให้มั่นคง สร้างความมั่นคงและมั่นใจให้แก่ภรรยา ครอบครัวมีความสงบสุข ได้รับการยกย่องสรรเสริญ พระพุทธศาสนา ได้กำหนดหลักการเลี้ยงดู หรือสงเคราะห์ภรรยาไว้ 5 ประการ ได้แก่ การยกย่อง ไม่ดูหมิ่น ไม่นอกใจ มอบความเป็นใหญ่ ให้มอบเครื่องแต่งตัวตลอดถึงพาออกงานด้วย
อนากุลา จ กมฺมนฺตา (อะนากุลา จะ กัมมันตา)
งานไม่คั้งค้างเป็นมงคล เพราะถ้าหากงานคั้งค้างแล้วย่อมไม่มีประโยชน์ไม่เห็นผล งานไม่คั้งค้างจะทำให้ฐานะของตน ครอบครัว และประเทศชาติเจริญขึ้น งานที่ทำเสร็จเห็นผลงาน การงาน แบ่งออกเป็นสองอย่าง คือ งานทางโลก ได้แก่ ทำนา ทำสวน ทำไร่ ค้าขาย บริการ รับราชการ งานทางธรรม ได้แก่ งานสร้างสันติสุขให้แก่โลก ลดละกิเลส ความเห็นแก่ตัว ความริษยา เป็นต้น
ทานญฺจ (ทานัญจะ)
การให้ทานเป็นมงคล เพราะเป็นการฝึกจิตใจให้เป็นนักเสียสละ เป็นการลดความเห็นแก่ตัว ทานมี 2 อย่าง คือ
อามิสทาน คือการให้วัตถุสิ่งของ เช่น ปัจจัย 4 ดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น
ธรรมทาน คือการให้สิ่งที่ไม่ใช่วัตถุ เช่นให้คำแนะนำสั่งสอน ให้อภัย เป็นต้น
ธมฺมจริยา จ (ธัมมะจะริยา จะ)
การประพฤติธรรมเป็นมงคล เพราะเป็นการยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น ผู้ประพฤติธรรมมีแต่ความสุข ผู้ประพฤติธรรมได้ชื่อว่าสอนคนอื่นด้วยการประพฤติตลอดเวลา สร้างความเจริญก้าวหน้าแก่ตนเองและส่วนรวม
ญาตกานญฺจ สงฺคโห (ญาตะกา นัญจะ สังคะโห)
การสงเคราะห์ญาติคือ เมื่อยามญาติ อัตคัด เกิดขัดข้อง ควรหาช่องสงเคราะห์ ไม่เลาะหนี เขาชาบชึ้ง ถึงคุณ อบอุ่นดี หากถึงที่เราจน ญาติสนใจ
อนวชฺชานิ กมฺมานิ (อะนะวัชชานิ กัมมานิ)
งานที่ไม่มีโทษประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้ 1.ไม่ผิดกฎหมาย 2.ไม่ผิดประเพณี 3.ไม่ผิดศิล 4.ไม่ผิดธรรม
อารตี วิรตี ปาปา (อาระตี วิระตี ปาปา)
ท่านว่าสิ่งที่ทำแล้วถือว่าเป็นบาปได้แก่ อกุศลกรรมบถ 10 คือ 1. ฆ่าสัตว์, 2. ลักทรัพย์, 3. ประพฤติผิดในกาม, 4. พูดเท็จ, 5. พูดล่อเลียน, 6. พูดคำหยาบ, 7. พูดเพ้อเจ้อ 8. โลกอยากได้ของเขา, 9. คิดพยาบาทปองร้ายคนอื่น, 10.เห็นผิดเป็นชอบ
มชฺชปานา จ สญฺญโม (มัชชะปานา จะ สัญญะโม)
ว่าด้วยเรื่องของน้ำเมานั้น อาจทำมาจากแป้ง ข้าวสุก การปรุงโดยผสมเชื้อ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่ดื่มแล้วทำให้มึนเมา ล้วนมีโทษอันได้แก่ ทำให้เสียทรัพย์ ทำให้เกิดการทะเลาะ วิวาท ทำให้เกิดโรค ทำให้เสียชื่อเสียง
อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ (อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ)
ไม่ประมาท คือมีสติพร้อม คอยหน่วงน้อม ธรรมคุณ ไม่ผลุนผลัน ธรรมอันใด ไม่ดี หลีกหนีพลัน ธรรมดีนั้น ยึดแน่น ไม่แคลนคลอน ธรรมในที่นี้ก็คือ หลักปฏิบัติที่ทำ แล้วมีผลในทางดี และเป็นจริงที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงโปรดแนะทางไว้
คารโว จ (คาระโว จะ)
ท่านได้กล่าวว่า สิ่งที่ควรเคารพมีอยู่ดังนี้ 1. พระพุทธเจ้า, 2. พระธรรม, 3. พระสงค์, 4. การศึกษา, 5. ความไม่ประมาท, 6. การสนทนาปราศรัย
นิวาโต จ (นิวาโต จะ)
ความอ่อนน้อมถ่อมตน คือ การไม่แสดงออกถึงความสามารถที่ตัวเองมีอยู่ให้ผู้อื่นทราบเพื่อข่มผู้อื่นหรือเพื่อโอ้อวด การไม่อวดดีเย่อหยิ่งจองหอง แต่แสดงตนอย่างสงบ
สนฺตุฏฺฐี จ (สันตุฏฺะฐี จะ)
คำว่าสันโดษ ไม่ได้หมายถึงการอยู่ลำพังคนเดียว แต่หมายถึงการพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ ในของของตัว นิยามที่เป็นลักษณะของความสันโดษ เป็นดังนี้ คือ 1. ยถาลาภสันโดษ หมายถึง ความยินดีตามมีตามเกิด 2. ยถาพลสันโดษ หมายถึงความยินดีตามกำลัง
กตญฺญุตา (กะตัญญุตา)
คือ การรู้คุณ และตอบแทนท่านผู้นั้น บุญคุณที่ว่านี้ไม่ใช่ว่าตอบแทนกันแล้วก็หายกัน แต่หมายถึงการลำรึกถึงพระคุณที่เคยให้ความอุปการะแก่เราด้วยความเคารพยิ่ง
กาเลน ธมฺมสฺสวนํ (กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง)
เมื่อมีโอกาส เวลา หรือตามวันสำคัญต่างๆ ก็ควรต้องไปฟังธรรมบ้าง เพื่อรับฟังสิ่งที่เป็นประโยชน์ในหลักธรรมนั้นๆ และนำมาใช้กับชีวิตเรา เพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น
ขนฺตี จ (ขันตี จะ)
ลักษณะของความอดทนนั้นสามารถจำแนกออกได้ดังต่อไปนี้ คือ 1. ความอดทนต่อความลำบาก 2. ความอดทนต่อทุกขเวทนา คือทุกข์ที่เกิดจากสังขารของเราเอง 3. ความอดทนต่อความเจ็บใจ 4. ความอดทนต่ออำนาจกิเลส
โสวจสฺสตา (โสวะจัสสะตา)
ผู้ว่าง่ายนั้นมีลักษณะที่สังเกตได้ดังนี้คือ 1. ไม่พูดกลบเกลื่อนเมื่อได้รับการว่ากล่าวตักเตือน 2. ไม่นิ่งเฉยเมื่อได้รับการตักเตือน 3. ไม่จับผิดผู้ว่ากล่าวสั่งสอน
สมณานญฺจ ทสฺสนํ (สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง)
คุณสมบัติของสมณะต้องประกอบด้วย 3 อย่างคือ 1. ต้องสงบกาย คือมีความสำรวมในการกระทำทุกอย่าง 2. ต้องสงบวาจา คือการพูดจาให้อยู่ในกรอบของความพอดี 3. ต้องสงบใจ คือการทำใจให้สงบปราศจากกิเลสครอบงำ ไม่ว่าจะเป็น โลภ โกรธ หลง ตั้งมั่นอยู่ในสมาธิภาวนา
กาเลน ธมฺมสากจฺฉา (กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา)
การได้สนทนากันเรื่องธรรม ทำให้ขยายขอบเขตการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ และเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ ที่เราอาจนึกไม่ถึง หรือเป็นการเผื่อแผ่ความรู้ที่เรามีให้แก่ผู้อื่นได้ทราบด้วย
ตโป จ (ตะโป จะ) ตบะ
การบำเพ็ญตบะ หมายถึงการทำให้กิเลส ความรุ่มร้อนต่างๆ หมดไป หรือเบาบางลง
พฺรหฺมจริยญฺจ (พรัหมะจะริยัญจะ)
คำว่าพรหมจรรย์หมายความถึง การบวชซึ่งละเว้นเมถุน การครองชีวิตที่ปราศจากเมถุน การประพฤติธรรมอันประเสริฐ ลักษณะของธรรมที่ถือว่าเป็นการประพฤติพรหมจรรย์นั้น (ไม่ใช่ว่าต้องบวชเป็นพระ) มีอยู่ดังนี้คือ 1. ให้ทาน 2. ช่วยเหลือผู้อื่นในกิจการงานที่ชอบ ที่ถูก ที่ควร 3. รักษาศิล 5
อริยสจฺจานทสฺสน (อะริยะสัจจานะทัสสะนะ)
อริยสัจ หมายถึงความจริงอันประเสริฐ หลักแห่งอริยสัจมีอยู่ 4 ประการดังนี้
1. ทุกข์ คือความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
2. สมุทัย คือเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
3. นิโรธ คือความดับทุกข์
4. มรรค คืกข้อปฏิบัติหรือหนทางที่นำไปสู่การดับทุกข์
นิพฺพานสจฺฉิกิริยา จ (นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ)
การทำนิพพานให้แจ้งนั้น ทำให้พ้นจากคติทั้ง 5 คือ นิรยคติ เปตคติ ดิรัจฉานคติ มนุสสคติ และเทวคติ ตลอดจนพ้นจากตัณหา เครื่องร้อยรัดได้ เพราะฉะนั้น การทำนิพพานให้แจ้ง จึงเป็นอุดมมงคล
ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปต (ผุฏฺฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะตะ)
คำว่าโลกธรรม มีความหมายถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำบนโลกนี้ ซึ่งเราไม่ควรมีจิตหวั่นไหวต่อสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ลักษณะของโลกธรรมมี 4 ประการคือ 1. การได้ลาภ เสื่อมลาภ 2. การได้ยศ เสื่อมยศ 3. การได้รับการสรรเสริญ นินทา 4. การได้รับความสุข ความทุกข์
อโสกํ (อะโสกัง)
มีเหตุอยู่ 5 ประการที่ทำให้จิตเราต้องโศกเศร้าคือ 1. ความรัก 2. ความใคร่ 3. ความไม่เที่ยงในสิ่งของทั้งหมดหลาย และร่างกายของเรา 4. ไม่ยึดมั่นในตัวตน หรือความจิรังยั่งยืน ในคนหรือสิ่งของว่าเป็นของเรา 5. ทุกอย่างในโลกล้วนเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะ แม้ร่างกายเราก็ใช้เป็นที่อาศัยชั่วคราวเท่านั้น
วิรชํ (วิระชัง)
จิตที่ฝึกฝนดีแล้วย่อมหลุดพ้น ไม่พัวพันอยู่กับกิเลสทั้งปวง เป็นจิตที่ปลอดโปร่ง เป็นอสรเสรีและมีศักยภาพสูงสุด
เขมํ (เขมัง)
มีจิตเกษมก็คือว่ามีจิตที่เป็นสุข ในที่นี้หมายถึง การละแล้วซึ่งกิเลส ที่ท่านว่าไว้ว่าเป็นเครื่องผูกอยู่ 4 ประการคือ 1. การละกามโยคะ คือการละความยินดีในวัตถุ 2. การละภวโยคะ คือการละความยินดีในภพ 3. การละทิฏฐิโยคะ คือการละความยินดีในความเห็นผิดเป็นชอบ 4. การละอวิชชาโยคะ คือการละความยินดีในอวิชชาทั้งหลาย ความไม่รู้ทั้งหลาย
Cr. thairath.co.th
#มงคลชีวิต #38ประการ #รุ่งเรือง #ธรรมะ
ล่าสุด