1. เสียชีวิต ณ โรงพยาบาล
โรงพยาบาลจะออกใบรับรองแพทย์ให้ เพื่อเป็นหลักฐานแสดงเหตุการณ์ตาย แล้วนำใบรับรองแพทย์พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เสียชีวิตไปยังสำนักทะเบียนท้องถิ่น หรือที่ทำการเขต(อำเภอ) ในเขตที่โรงพยาบาลนั้นตั้งอยู่ เพื่อขอรับใบมรณบัตร แต่โรงพยาบาลบางแห่งจะออกใบมรณบัตรให้เอง หรือช่วยดำเนินการให้เพื่ออำนวยความสะดวก โดยญาติของผู้เสียชีวิต จะต้องนำทะเบียนบ้านไปให้โรงพยาบาลด้วย
2. เสียชีวิต ณ บ้าน
เจ้าของบ้านหรือผู้แทนเจ้าของบ้าน จะต้องไปแจ้งการตายต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อออกใบรับรองการตาย และนำไปแจ้งต่อเจ้าหน้าที่สำนักทะเบียนท้องถิ่น (แพทย์ประจำตำบล ผู้ใหญ่บ้าน หรือ กำนัน) ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในเขตที่บ้านเรือนนั้นตั้งอยู่ ภายใน 24 ชั่วโมง นับตั่งแต่เวลาตาย หรือพบศพ เพื่อขอใบมรณบัตร
3. เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ หรือ ถูกฆาตกรรม
เจ้าของบ้าน หรือผู้ที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพ จะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมาชันสูตรศพ เพื่อทำหลักฐานการเสียชีวิต ภายในเวลา 24 ชั่งโมง นับแต่เวลาตายหรือพบศพ โดยในระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือแพทย์ยังไม่ได้ตรวจศพ ห้ามเคลื่อนย้ายศพ หรือทำให้ศพเปลี่ยนสภาพ หรือนำยามาฉีดศพ เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือแพทย์ได้ตรวจชันสูตรศพแล้ว ญาติผู้เสียชีวิตจะต้องไปขอหลักฐานจากเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่ที่รับผิดชอบ พร้อมทั้งขอใบชันสูตรศพจากแพทย์ เพื่อนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่สำนักทะเบีบนท้องถิ่น ในการขอใบมรณบัตร โดยแจ้งด้วยว่า จะนำศพไปบำเพ็ญกุศล ณ วัดใด ให้กรอกในช่องที่ว่า เผา ฝัง เก็บ หรืออุทิศ
เมื่อได้ใบมรณบัตรมาแล้ว ควรถ่ายสำเนาเอกสารที่สำนักทะเบียนท้องถิ่นที่ออกใบมรณบัตรให้ แล้วให้เจ้าหน้าที่รับรองสำเนาเอกสารด้วย เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน ส่วนในมรณบัตรตัวจริงต้องนำไปแจ้งต่อสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่ผู้เสียชีวิตมีภูมิลำเนาอยู่
Cr.lalareed.com
ล่าสุด